
หลวงพ่อ ก็ต้องไปถามที.วี.ดู
ผู้ถาม ถามหลวงพ่อดีกว่าเจ้าค่ะ
หลวงพ่อ หลวงพ่อไม่รู้จะตอบยังไงนะซิ เรื่องจริงก็มีอยู่รายเดียว เจ้าคุณราชสุทธาจารย์ ท่านตายแล้ววิญญาณของท่านมาช่วยงานเผาศพตัวท่านเอง เวลาเขาเผาเสร็จ เขาก็เดินทางกลับบ้าน ท่านก็เดินกลับด้วยก็นึกถึงน้องสาว ว่าเมื่อเราป่วยใหม่ ๆ น้องสาวกำลังคลอดบุตร กำลังอยู่ไฟ ก็แวะเข้าไปเยี่ยมน้องสาว น้องสาวเห็นหน้าเข้า ก็บอก “ พี่เล็งตายแล้วไปสู่ที่ชอบ ๆ เถิด อย่าได้มากวนเลย ”
ท่านก็เลยบอกว่าเวลานั้นรู้สึกอายน้องสาวเราไปเยี่ยม แต่เขากลับเห็นว่าเราเป็นศัตรู ก็ถอยหลังออกมา พอถอยหลังออกมาประตู ก็หมุนติ้วทรงตัวไม่อยู่ล้มลง ล้มลงก็ไปเข้าร่างกายของเด็กซึ่งเป็นลูกของน้องสาว ทีนี้ก็มีปัญหาถามท่านว่า ไอ้คนเราเกิดมาก่อน จิตวิญญาณดวงนี้มันมีอยู่แล้วใช่ไหม แล้วจิตวิญญาณดวงนี้มันเข้าไปซ้อนกันได้ยังไง ท่านก็บอกว่ามีบาลีอภิธรรมบอกว่า “ ปุเร ชาโต ปัจฉา ชาโต ” เขาแปลว่าเกิดก่อนหรือเกิดหลัง “ ปุเร ชาโต ” เกิดก่อน “ ปัจฉา ชาโต ” เกิดทีหลัง
ท่านก็บอกว่าพอดีไอ้วิญญาณดวงนั้นมันเคลื่อนออกไปพอดี แล้วดวงนี้ก้เข้าซ้อนกัน อย่างนี้เป็นไปได้นะ เป็นมาแล้วนะ แต่ว่าต้องใหม่ ๆ นะ คือว่าประสาทยังไม่หยุดทำงาน คือว่าประสาทไม่เสีย ยังไม่ตาย ทีนี้พอเกิดขึ้นมาพอพูดได้ เขาแนะนำให้เรียกแม่ แกบอก ไม่ใช่แม่ คนนี้น้องสาว ยายมาเขาบอกให้เรียกยาย บอก คนนี้ไม่ใช่ยาย ท่านเรียกแม่ เขาถามท่าน ท่านก็บอก ท่านชื่อ “ เล็ง ” บ้านอยู่ตำบลนั้นมีควายกี่ตัว มีลูกกี่คน มีนากี่ไร่ บอกถูกหมด ตายไปไม่กี่วันก็เหมือนกับนอนหลับแล้วฟื้นขึ้น
ต่อมาถึงเวลาบวชพระ ท่านก็บวชพระสายธรรมยุต จบเปรียน ๔ ประโยค ต่อมาท่านก็เป็นเจ้าคณะจังหวัดธรรมยุต พอเป็นเจ้าคณะชั้นราชได้หน่อยหนึ่ง ก็มีความเบื่อในการทรงตัวที่รับฐานะ ก็ลาออกจากเจ้าคณะธรรมยุต อยู่ตามลำพัง
ความจิรงเรื่องราวของ ท่านเจ้าคุณราชสุทธาจารย์ เป็นตัวอย่างของคนตายดีที่สุด เป็นตัวอย่างของคนตายและคนเป็น ตัวอย่างของคนเป็น และต่อมาท่านก็ป่วย ป่วยก็ถึงแก่ความตาย ไอ้จิตวิญญาณมันไม่ไปไหน มันก็บนอยู่บ้าน เวลาเขาทำงานศพเขาสวดศพ คนมาช่วยงานหาบข้าวของมาช่วย ท่านก็วิ่งไปรับ ดีใจว่าเขามาช่วย วิ่งแย่งหาบแย่งคอน เขาก็ไม่ให้ เป็นผี เขาไม่ให้ แต่ว่าผลประการสำคัญในเมื่อเขาฟังสวดจบหรือถวายทานเสร็จ เวลาเขาอุทิศส่วนกุศล ท่านบอกว่ามีกำลังมากขึ้น ร่างกายผ่องใสขึ้น มีกำลังมากขึ้น เขาให้อีกก็ดีขึ้นอีก ตามลำดับ แต่ว่ากำลังจิตของท่านไม่ไปไหนวนเวียนอยู่ที่นั้น
อันนี้ก็เป็นประโยชน์ใหญ่นะ จะได้รู้ว่าให้ทานมีผลกับคนตายแบบนี้ ไม่ใช่ว่าให้ปลาแห้งไป ให้เนื้อเค็มไป เป็นท่อน เป็นตอนไม่ใช่อย่างนั้น มันเป็นอานิสงส์ มันเป็นผลทำให้ร่างกายมีความสุข มีร่างกายสวยขึ้น มีกำลังมากขึ้น
ผู้ถาม หลวงพ่อเจ้าคะ เวลาท่านตายแล้วไม่ผ่านสำนัก ลุงพุฒิ หรือคะ
หลวงพ่อ คือคนตายทุกคน ไม่ใช่ผ่านสำนัก ลุงพุฒิ ( สำนักพยายม ) ทั้งหมด คนที่มีบาปหนัก ตายแล้วพุ่งหลาวลงนรกเลย ตายแล้วไม่ผ่านสำนัก ลุงพุฒิ คนที่มีจิตใจที่นึกถึงบุญกุศลอยู่ ตายแล้วขึ้นสวรรค์เลย ไม่ผ่านสำนัก ลุงพุฒิ และคนที่เป็นสัมภเวสีก็ไม่ผ่านสำนัก ลุงพุฒิ ไม่ใช่ผ่านทุกคนหรอกนะ
อาหารเรปฎิกูลสัญญา
ผู้ถาม กราบเท้าหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง ลูกมีความถนัดและพิจารณา “อาหารเรปฎิกูลสัญญา” เป็นประจำ ก่อนทานอาหารทุกครั้งต้องพิจารณาเสียก่อน แล้วจึงค่อยรับประทาน ตอนพิจารณาก็เห็นเป็นซากสกปรก เลอะเทอะสะอิดสะเอียนมาก พาลทำให้กินไม่ได้ผ่ายผอมลงทุกวัน ๆ จึงใคร่ถามหลวงพ่อว่า วิฑีพิจารณาฉบับของหลวงพ่อ บริโภคได้โดยไม่สะอิดสะเอียนนั้น หลวงพ่อพิจารณาแบบไหนเจ้าคะ ?
หลวงพ่อ พิจารณาเป็น “อาหาเรปฎิกูลสัญญา” แล้วนะ ต่อไปฉันก็ภาวนา “กินหนอ ๆ” มันเลอะเทอะกูกินก็มึง กูจะกินเสียอย่าง คือพิจารณาเป็น “ อาหาเรปฎิกูลสัญญา ” คือของทุกอย่างเกิดจากของสกปรก มีความสกปรก อาหารของสัตว์ก็สกปรก ร่างกายของสัตว์ก็สกปรก แต่ว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ร่างกายของเราก็สกปรก เมื่อของสกปรกกับสกปรกอยู่ด้วยกันก็ช่างมันปะไร ถืออุเบกขา กินดะเลย คือ ว่าอย่าเห็นเฉพาะเวลานั้นซิ เวลานั้นเขาพิจารณาให้เห็น ไห้เกิดเป็น “ นิพพิทาญาณ”
“นิพพิทาญาณ” หมายถึง ความเบื่อหน่าย เห็นร่างกายสกปรก หลังจากนั้นต้องใช้ พิจารณาแบบนั้นต้องใช้ “ สังขารุเปกขาญาณ ” เข้าควบคุม อารมณ์ใจวางเฉย มันสกปรกแล้วก็ไม่เป็นไร เราเกิดมาแล้วก็ต้องพบกับความสกปรก ต่อไปชาติหน้าความสกปรกจะไม่มีกับเราอีก เราตายเราไปนิพพาน คิดอย่างนั้นนะ
(อีกรายหนึ่งถามว่า)
ผู้ถาม หลวงพ่อค่ะ พิจารณา “อาหาเรปฎิกูลสัญญา” บ่อย ๆ แล้วมีความคิดไม่อยากทานข้าวค่ะ
หลวงพ่อ ดีมากไม่เปลืองสตังค์มันแฟบ เมื่อใช้ "อาหารเรปฎิกูลสัญญา" บ่อย ๆ ไม่อยากข้าว ดี! แบงก์มันแฟบกินน้อย ๆ ดี แบงก์มันแฟบ แต่ตัวไม่แฟบซิ แต่เรื่องที่กินได้ไม่ได้ไม่เกี่ยวกันนะ ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนาญาณ มันเกี่ยวกับร่างกายเราเอง แต่ว่าถ้าจิตเป็นธรรมปีติมันก็อิ่ม มันอิ่มของมันเอง ไม่ตัวอิ่มมันมีอยู่แล้ว ใช่ไหม ปีตินั้นไปอิ่ม อิ่มดดยธรรมชาตินั้นมันอิ่มจริง ๆ
ไอ้อาหารการบริโภคจะน้อย แต่พระนี่ พระธุดงค์เขาฉันเวลาเดียวเขาอยู่ได้ยังไง ฉันเวลาเดียว ก็มีอยู่องค์อยู่พิจิตร ท่านก็ไม่ธุดงค์ ท่านอยู่วัด ฉันเรียนกับท่านก็ไม่ให้เรียน ตอนนั้นฉันยังหนุ่มอยู่ เป็นพระแล้วนะ ไปหาท่านอาหารนี่ท่านไม่ฉันเลย ฉันแต่น้ำ น้ำก็ฉันแบบธรรมดา แต่ทำงานทุกอย่าง เวลานั้นปลูกศาลาขุดหลุมเสา แบกเสา แบกอื่น ๆ ก็ทำเหมือนกับพระทุกองค์ ก็สงสัยบอก “ หลวงพ่อขอเรียนบ้าง” ท่านบอกว่า “อย่าเรียนเลย ชาวบ้านเขาจะเสียกำลังใจ”
นิมนต์ไปฉันก็ได้เแต่สวดมนต์ฉันไม่ได้ แต่ความจริงท่านให้เรียนก็ได้ ฉันคิดว่าถ้าวิชานี้เป็นสาธารณะถ้าเรียนกันได้ ฉันแจกทุกคน แล้วรวยบรรลัยเลย ไอ้พวกนี้ถ้าลองไม่กินแล้วรวยบรรลัยเลย ใช่ไหม เรื่องเล็ก ๆ เงินเดือน ๆ ละ ๑๐๐ บาท ยังพอใช้เลย ใช่ไหม ก็ถ้าเรายุ่งอยู่ ยุ่งกินนะ นั้นวิชาความรู้นั้นต้องเฉพาะตัวของท่าน องค์นั้นอ้วนนะไม่ใช่ผอม อ้วน! ผิวพรรณดี
ต่อมาฉันต้องเข้าป่า ตอนที่ฉันเข้าป่าจึงเห็นการคล่องตัวก็เลยนึกออก ว่าท่านอยู่ด้วยธรรมปีติ ต้องเก่งมาก ใช่ไหม เก่ง ! ไม่ใช่เก่งน้อยนะ การอยู่ด้วยธรรมปีติในสถานที่ปกติไม่ใช่เรื่องเล็ก เพราะมีการเคลื่อนไหว เพราะมีการทำงานเสมอ ใช่ไหม ไม่ใช่ไปนั่งเฉย ๆ เดินไปเดินมาแบบจงกรมเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก อันนี้เป็นปกติของคนธรรมดา ต้องถือว่าธรรมปีติ ก็เหมือน นิโรธสมบัติ
ดินกินดิน
ผู้ถาม กระผมพิจารณาดิน น้ำ ลม ไฟ ขณะทานอาหารก็นึกว่าดินกินดิน เพียงไม่กี่คำก็จะอิ่ม และอยู่อย่างสบาย ๆ กราบเรียนถามว่า การที่นึกว่าดินกินดินจะได้ประโยชน์อะไรครับ ?
หลวงพ่อ ได้ประโยชน์คือดินกินดิน คำว่าได้ประโยชน์หรือไม่นี่ เราต้องพิจารณาเห็นว่าสกปรกหรือเปล่า ถ้านึกเฉย ๆ ก็แค่นั้นล่ะนะ ไม่มีอะไร “ อาหารเรปฎิกูลสัญญา ” ท่านบอกพิจารณาอาหารว่าเป็นของสกปรกต่างหากล่ะ ดินกินดินก็ดินกินดิน
ผู้ถาม ปลูกต้นไม้ได้ครับ
หลวงพ่อ ไม่ได้ มันกินดินหมด ต้นไม้ต้องการดิน ดินกินดินต้องนึกให้ตลอดไปซิ ดินก็ดี น้ำก็ดี ลมก็ดี เป็น "อนิจจัง ” ไม่เที่ยง ถ้ายังทรงตัวเป็นร่างกายอยู่ก็มีแต่ความทุกข์ ในที่สุดมันก็พัง เราไม่ควรยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเรา ถือว่าเราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา เราคือ “ อทิสมานกาย ” ถ้าจิตใจของเราดี เราก็ไปสวรรค์ ไปพรหมโลก ไปนิพพานได้ ถ้ามีอารมณ์เศร้าหมองก็ต้องไปอบายภูมิ ถ้าคิดอย่างนี้ไห้มันตรงเผงนะ เราดินกินดิน ตายไปก็เป็นไส้เดือน
นั่งเย็บผ้าเห็นคนตาย
ผู้ถาม ขณะที่ลูกนั่งเบ็บผ้าอยู่มีเพื่อนมาบอกว่า "แม่ตายไปนานแล้วไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร ?" จิตของลูกขณะนั้นเห็นภาพทันที บอกขนาดอายุชัดเจนแจ่มใส ลูกมีความสงสัยว่า ไม่ได้ภาวนา ไม่ได้นั่งสมาธิ ทำไมจึงเห็นภาพได้ชัดเจนแจ่มใสเจ้าคะ ?
หลวงพ่อ เย็บผ้าไม่มีสมาธิเรอะ ? ถ้าเย็บผ้าไม่มีสมธิก็เอเข็มแทงเนื้อ "สมาธิ" เขาแปลว่า ตั้งใจ นะ ความเป็นทิพย์ของจิตไม่จำเป็นต้องภาวนาเสมอไป ถ้าจิตตั้งไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างเขียนหนังสือก็ดี อ่านหนังสือก็ดี คุยกันอยู่ก็ดี เฉพาะเรื่อง หรือเย็บผ้า ทำครัว เวลานั้นจิตว่างจากกิเลส ไม่นึกถึงเรื่องอื่นเวลานั้นจิตก็เป็นทิพย์ ถ้าเขาถามปั๊บความเป็นทิพย์ก็จับภาพทันที อย่านึกคำว่า “ ทิพพจักขุญาณ ” จะต้องนั่งภาวนาก่อนนะ ไม่ใช่ คนที่เขาได้คล่องจริง ๆ ไม่เคยภาวนาก่อนเลยนะ เขาได้คล่องจริง ๆ จิตมันทรงตัวไม่ต้องภาวนานึกปั๊บก็จับภาพได้ทันที ก็แบบคนที่มีอารมณ์ว่างจากกิเลสในเวลานั้น เย็บผ้าจิตมันก็อยู่ที่ปลายเข็ม ใช่ไหม ถ้าเผลอก็ไม่ได้ นั่นเป็นสมาธิอย่างหนัก แต่ว่าในฐานะที่มีการเคลื่อนไหวก็ทรงในอุปจารสมาธิ อุปจารสมาธิมีอารมณ์เป็นทิพย์พอดี ใช้ได้เลย
ผู้ถาม อ๋อ... การทำงานทุกอย่างก็เป็นสมาธิหมดหรือครับ ?
หลวงพ่อ เป็นสมาธิหมด ! แม้กินข้าวหรือเข้าส้วมก็เป็นสมธิ
ผู้ถาม เข้าส้วมน่ะหรือครับ ?
หลวงพ่อ เข้าส้วมน่ะเป็นทั้งสมาธิ เป็นทั้งปัญญาด้วยนะ
ผู้ถาม เอ๊ะ! ไม่เคยได้ยินเลยครับ
หลวงพ่อ อ้าว! ฉันพูดไม่ได้ยินเหรอ “สมาธิ” แปลว่า ตั้งใจ นะ เราตั้งใจจะไปส้วม ถ้าสมาธิไม่ดี ดีไม่ดีขี้บนที่นอนล่ะ คิดว่าที่นอนเป็นส้วม และก็ต้องประกอบปัญญา นี่ห้องส้วมนะ ไม่ใช่ห้องนอน เวลาถ่ายก็มีสมาธิและปัญญาควบ ถ้าไม่มีปัญญามีแต่สมธิ ถ่ายมามันคล้ายสังขยา คิดว่าสังขยาล่อเข้าไป ใช่ไหมเล่า แม้แต่เข้าส้วมก็ต้องมีสมาธิ มีปัญญาประกอบกันทั้งหมดแหละ คือสมาธิแปลว่าตั้งใจเฉย ๆ ใจตั้งไว้จุดใดจุดหนึ่งนั้นคือ “สมธิ”
ผู้ถาม ฉะนั้น เวลาเข้าส้วมก็เป็นกรรมฐานด้วย
หลวงพ่อ เป็นกรรมฐานในตัวเสร็จ เพราะเขาเรียก “ฐาน” อยู่แล้ว ไอ้นั้นได้จริง ๆ นะ เห็นว่าสิ่งที่ออกมาจากร่างกายมันสกปรก ของสมปรกคืออาหารที่เราเลือกกินเข้าไปแล้ว ก่อนจะกินเราก็เลือกแล้วว่าเป็นของดี ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “อาหาเรปฎิกูลสัญญา” ก่อนจะกินเห็นว่าอาหารมากจากสิ่งสกปรก สัตว์ทั้งหมดสกปรก พืชทั้งหมดสกปรกแล้วมันก็สกปรกจริง ๆ คือมีความเข้าใจในร่างกายว่ามีแต่ความสกปรกทั้งหมด ใช่ไหม เป็นของไม่สะอาด ตัวนี้เป็นปัจจัยให้เกิดเป็นพระอนาคามี ถ้าบ่อย ๆ อารมณ์นี้มันจะทรงตัว แม้แต่ทำนิด ๆ หน่อย ๆ นะ ใช้เวลาไม่มากสัก ๑๐ วันครั้งก็ยังดี พอจะตายอารมณ์นี้จะรวมตัว มีกำลังสมารถตัดกิเลสได้เลย
ผู้ถาม ดีเหมือนกันนะ ทำกรรมฐานในส้วม
หลวงพ่อ ใช่! จิตเป็นสุข อารมณ์เป็นฌาน
ผู้ถาม แม้แต่กลิ่นก็เป็นกรรมฐาน
หลวงพ่อ ใช่! “อสุภกรรมฐาน” ยังไงล่ะ คำว่า “อสุภะ” แปลว่า ไม่สวย ไม่งาม ไม่น่ารัก วัตถุที่ออกก็ไม่น่ารัก กลิ่นก้ไม่น่ารัก
ผู้ถาม ความจริงก็น่าแปลกนะ เวลาอยู่ในชามก็สวยงาม ประดิษฐ์เสียอย่างสวยงาม
หลวงพ่อ อะไรได้เอาอุตสาห์เสียสตางค์ไปซื่อใช่ไหม ออกมาแล้วเบือนหน้าหนี
ผู้ถาม ของของเราแท้ ๆ เลย
หลวงพ่อ ก็นั่นน่ะซิ ไม่น่าจะเสียเงินใหม่ น่าจะกลับเข้าไปใหม่ (หัวเราะ)
ผู้ถาม เป็นการประหยัดเศรษฐกิจ
หลวงพ่อ ก็เราเลือกแล้ว ก่อนจะกินมัน เป็นของดีนี่ ไม่น่าจะทิ้งเลย
ผู้ถาม น่าเสียด๊าย ! เสียดาย!